ศีรษะเถิก
ศีรษะล้าน
( ในเพศชาย )
|
สาเหตุของผมร่วงศีรษะล้านคือภาวะผมร่วงแอนโดรจินีติก ( Androgenetic
alopecia ) หมายถึงภาวะศีรษะล้านแบบผู้ชาย ( MALE PATTERN BALDNESS )
หรือภาวะผมร่วงกรรมพันธุ์ซึ่งพบได้มากกว่า 95 % เข้าใจว่าเกิดจากปัจจัยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
3 ประการดังนี้:--
|
1.GENES (
ยีน )
ยีนคือหน่วยพันธุ์กรรมที่อยู่บนโครโมโซม โครโมโซมของคนเรามีทั้งหมด23คู่โดยได้รับมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่งเดิมพบว่าส่วนประกอบของสารพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซมเอ็กซ์
(x
– chromosome) ซึ่งได้รับมาจากแม่มีความสำคัญและส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงชนิดนี้ขึ้น
จึงทำให้บางคนคิดว่าพันธุกรรมจากแม่มีผลมากกว่าพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อการค้นพบยีนตัวรับแอนโดรเจน
(androgen recepter gene)
บนโครโมโซม Xช่วยเสริมในการอธิบายว่า ทำไมรูปแบบศีรษะล้านในผู้ชายจึงเหมือนหรือคล้ายกับตาหรือญาติทางฝั่งแม่มากกว่าพ่อแต่ในปัจจุบันพบว่าผมร่วงจากภาวะนี้เกี่ยวข้องกับยีนมากกว่า
1 อัน (polygenic)และเร็วๆนี้มีการพบยีนบนโครโมโซมคู่ที่20ที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ซึ่งสามารถถ่ายทอดมาได้จากทั้งแม่และพ่อทำให้สามารถอธิบายใหม่ได้เพิ่มเติมว่า
ทำไมลูกจึงมีศีรษะล้านรูปแบบคล้ายที่พบกับพ่อได้( แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักแต่ก็พบว่าพันธุกรรมที่ได้รับจากแม่ดูเหมือนว่าจะมีความสำคัญมากกว่าที่ได้รับจากพ่ออยู่เล็กน้อย
)หมายความว่ามียันนี้เพียงอันเดียวก็สามารถแสดงลักษณะของศีรษะล้านรูปแบบนี้ออกมาได้แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มียีนนี้อยู่จะแสดงลักษณะ (expressity)ของศีรษะล้านทุกคน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการแสดงลักษณะของยีนนี้ด้วยปัจจัยดังกล่าวได้แก่
ฮอร์โมน,อายุ,ความเครียด,และปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล
|
2. HORMONES
( ฮอร์โมน ) ฮอร์โมนคือสารเคมีที่หลั่งออกจากต่อม
(glands) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไปออกฤทธิ์ยังอวัยวะเป้าหมาย ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ
เทสโทสเตอโรน (Testosterone ) สร้างมากที่ต่อมลูกหมากและอัณฑะ ฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดลักษณะของความเป็นชาย
ทำให้อวัยวะเพศชายเจริญขึ้น
สร้างตัวอสุจิ
(Sperm ) กระตุ้นให้มีความรู้สึกทางเพศ กระตุ้นให้มีขนบริเวณ รักแร้ และ หัวเหน่า แต่ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถทำให้เกิดศีรษะล้านได้ด้วย
เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็น
DHT (ดูหัวข้ออะไรคือ DHT )
ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้รากขนเสื่อมลง และ
ตายได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนนี้ยังผลิตขึ้นได้จาก
ต่อมหมวกไต และ
รังไข่ ของผู้หญิงอีกด้วย
ดังนั้นในผู้หญิงจึงพบว่ามีปริมาณฮอร์โมนนี้อยู่ด้วย แต่พบในปริมาณ
ที่น้อยกว่าในเพศชาย ขบวนการการเปลี่ยนจากTestosterone
เป็น
DHT จำเป็นต้องอาศัย
Enzyme ( เอ็นไซม์
)
ทีมีชื่อว่า
5- alpha-reductase
ในผู้ชายพบว่าเอ็นไซม์นี้มีการทำงานมากขึ้นในบริเวณที่มีผมร่วง ฮอร์โมน
DHT จะลดระยะการเจริญของผม ทำให้ผมเข้าสู่ระยะพักเร็ว ผมจึงหลุดร่วงเร็ว
|
3.
AGE ( อายุ )
ไม่เฉพาะเพียงแต่ ยีน และ ฮอร์โมนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับภาวะศีรษะล้านชนิดนี้
แม้ว่าในวัยรุ่นจะเริ่มมีฮอร์โมนเพศชาย Testosterone
แต่ภาวะนี้ยังพบได้น้อยในวัยรุ่น และพบมากขึ้นตามอายุ ดังนั้นอายุที่มากขึ้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะศีรษะล้านรูปแบบเพศชาย
แต่จะเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล อายุเป็นสาเหตุได้อย่างไร
ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดนัก ภาวะผมร่วงไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงที่แปรผันตามอายุ แต่กลับพบเป็นวงจรมีช่วงที่ผมร่วงเร็วขึ้นหรือช้าลงสลับกันไป
ดังนั้นจึงน่าจะมีปัจจัยอื่นที่มากระตุ้นทำให้เกิดภาวะผมร่วงอีก แต่อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่ออายุมากขึ้น
ปริมาณของเส้นผมจะลดลง แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยด้านพันธุกรรม จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุมากขึ้นเส้นผมจะหดตัวทำให้ขนาดของเส้นผมและความยาวของเส้นผมลดลง
นอกจากนี้รากขนยังทำงานน้อยลง และปริมาณของรากขนก็จะลดลงด้วย ทำให้ผมบนหนังศีรษะดูบางได้ในบางบริเวณ
ทั้งนี้อาจเกิดเนื่องจากความเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น และปริมาณการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงยังบริเวณหนังศีรษะด้วย
|
DHT ( Dihydrotestosterone )
|
ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือเทสโทสเตอโรน
(Testosterone
) ฮอร์โมนชนิดนี้ สามารถทำให้เกิดศีรษะล้านได้ด้วย เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็นDHT ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้รากขนเสื่อมขบวนการการเปลี่ยนจากTestosteroneเป็น DHTจำเป็นต้องอาศัย
Enzyme ( เอ็นไซม์ ) ทีมีชื่อว่า 5- alpha-reductase
|
DHT มีผลยังไงกับเรา ? ถ้ามันมีอยู่มากที่ผิวหนัง
ก็จะมีส่วนกระตุ้นให้ต่อมไขมันใหญ่ขึ้น ผิวหนังก็จะมีน้ำมันออกมามากขึ้น พอเจอกะฝุ่นหรือสิ่งสกปรกก็อาจจะเกิดการอุดตันเป็นสิวอักเสบขึ้นมาได้
ถ้ามันเป็นต่อมไขมันที่รากผม DHTจะจับกับเซลล์สร้างเส้นผม และออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นผมปกติ
ทำให้เส้นผมใหม่ที่ขึ้นมาทดแทนเส้นผมเดิมที่ร่วงไป มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดเกิดภาวะ
ผมบาง และ ศีรษะล้าน ตามมา แต่ถ้ามันไปมีอยู่มากที่ต่อมลูกหมาก ก็จะมีส่วนทำให้เกิดอาการต่อมลูกหมากโตได้
|


|

สูตรเคมี Dihydrotestosterone
|
ลักษณะศีรษะล้านในผู้ชายมักเริ่มจากมีการถอยร่นของแนวผมทางด้านหน้าลึกเข้าไปเป็นง่าม
และเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ บางคนอาจมี ศีรษะล้าน ด้านหลังตรงบริเวณขวัญร่วมด้วย
สุดท้ายแล้วถ้าผมยังไม่หยุดร่วง ศีรษะล้าน ทั้ง 2 บริเวณจะลามเข้าหากันจนกลายเป็น
ศีรษะล้าน บริเวณกว้าง ซึ่งจะเป็นมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของคนๆนั้น
|
ความรุนแรงของศีรษะล้านจำแนกได้เป็น 7
ระยะ

 |
|
 |