สาเหตุต่างๆที่มีผลทำให้เกิดปัญหา
ผมร่วง ผมบาง |
กรรมพันธุ์
( ดูรายละเอียดในเรื่องหัวล้าน )
|
 |
เรื่องของกรรมพันธุ์
ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายมีส่วนสำคัญที่ทำให้เส้นผมมีอายุสั้นกว่าปกติและเส้นผมที่เกิดใหม่มีขนาดเล็กและบางลงส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะและหน้าผากเริ่มสังเกตุได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปและจะเห็นชัดมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆส่วนผู้หญิงมักจะเริ่มแสดงอาการหลังวัยหมดประจำเดือนที่จะเห็นเส้นผมบางลง
|
โรคเชื้อราที่ศีรษะ
|
 |
พบได้บ่อยในเด็กแต่จะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักจะลุกลามจากบริเวณอื่นของร่างกายโรคนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆคล้ายโรคผมร่วงหย่อมไม่ทราบสาเหตุแต่จะมีลักษณะขึ้นผื่นแดงคันและเป็นขุยหรือสะเก็ดนอกจากนี้มักจะพบร่องรอยของโรคเชื้อรา(กลาก)ที่มือ เท้า ลำตัวหรือในบริเวณร่มผ้าร่วมด้วย |
ผมร่วง เป็นหย่อม |
ผมร่วงเป็นหย่อม
(Alopecia areata) เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราว
แต่ไม่ทราบสาเหตุ
|
 |
ที่แน่ชัดพบมากในวัยหนุ่มสาวพบน้อยในคนอายุเกิน45ปีขึ้นไปทั้งหญิงและชายมีโอกาสเป็นเท่าๆกันอาการที่พบคือผมแหว่งหายไปเป็นหย่อมๆ มีลักษณะกลมหรือรีขอบเขตชัดเจนตรงกลางไม่มีเส้นผมแต่จะเห็นรูขุมขนส่วนหนังศีรษะในบริเวณนั้นเป็นปกติไม่แดงไม่เจ็บไม่คันไม่เป็นสะเก็ดหรือเป็นขุยอาจพบมีเพียง
1-2 หย่อมหรืออาจมากกว่านี้
|
เป็นโรคบางอย่างร่วมอยู่ด้วย หรือมีแผลเป็นที่หนังศีรษะ |
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเอสเอลอี,โรคมะเร็ง,โรคทางต่อมไทรอยด์,โรคไทฟอยด์,โรคซิฟิลิส,โรคไต เป็นต้น
ก็อาจมีอาการ ผมร่วงผมบางร่วมกับอาการของโรคเหล่านี้เช่น เป็นไข้เรื้อรังปวดตามข้อมีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้าต่อมน้ำเหลืองโตเป็นต้น..แผลเป็นเช่นโดนน้ำร้อนลวก สารเคมีหรือ อื่นๆ |
การใช้ยาและการฉายรังสี |
ยาที่อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงมีอยู่หลายชนิดเช่น ยารักษามะเร็ง,ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด(anticoagulants) เช่น เฮพาริน
(Heparin),ยารักษาคอพอกเป็นพิษ,ยาคุมกำเนิด,คอลชิซีน,อัลโลพูรินอล (Allopurinol)
ซึ่งใช้ป้องกันโรคเกาต์,แอมเฟตามีน(Amphetamine)
เป็นต้น นอกจากนี้ การฉายรังสีในการรักษามะเร็งก็อาจทำให้ผมร่วงได้ |
จากการถอนผม |
พบได้บ่อยในเด็กที่มีปัญหากดดันทางจิตใจด้วยสาเหตุต่างๆเช่น
ปัญหาทางครอบครัว ปัญหาการเรียน เป็นต้น เด็กบางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัยโดยไม่มีปัญหาทางจิตใจก็ได้เรียกอาการนี้ว่า (Trichotillomania)
ผู้ป่วยจะถอนผมตัวเองเล่นจนผมร่วงหรือผมแหว่งเด็กบางคนอาจถอนผมเฉพาะตอนก่อนนอนซึ่งจะพบมีเส้นผมตกอยู่ที่นอนบ่อยเส้นผมเหล่านี้จะไม่มีต่อมรากผมและหนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะไม่มีผื่นคันหรือเป็นขุยและจะพบเส้นผมที่เป็นรอยแผลเป็นที่หนังศีรษะ
|
ผมร่วง เนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราว |
ปกติเส้นผมของคนเราจะมีอายุนาน 2-6 ปี แล้วจะหยุดการเจริญงอกงามในแต่ละวันจึงมีเส้นผมประมาณ
10% ที่เสื่อมและหลุดร่วงไปแต่ในบางภาวะเส้นผมที่กำลังเจริญอาจหยุดการเจริญในทันทีทำให้มีเส้นผมหลุดร่วงเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติสาเหตุที่ทำให้ผมหยุดการเจริญชั่วคราว
ที่พบได้บ่อย มีดังนี้:-- |
ผู้หญิงหลังคลอดมักมีผมร่วงหลังคลอดประมาณ 3
เดือนเนื่องจากขณะคลอดเส้นผมบางส่วนเกิดหยุดการเจริญเติบโตในทันทีต่อมาอีก
2-3 เดือน ผมเหล่านี้ก็จะร่วงส่วนทารกแรกเกิดก็อาจมีอาการผมร่วงในระยะ
1-2 เดือนแรกแล้วจะค่อยๆมีผมงอกขึ้นใหม่ |
เป็นไข้สูง เช่น ไข้รากสาดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ เป็นต้น
จะมีอาการผมร่วง หลังเป็นไข้
ประมาณ 2-3 เดือน หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
เช่น วัณโรค, เบาหวาน , โลหิตจาง,ขาดอาหาร เป็นต้น หรือได้รับการผ่าตัดใหญ่ตลอดจนการเสียเลือดรวมทั้งการบริจาคเลือดก็เป็นไปได้ |
การใช้ยา เช่น ยาคุมกำเนิด,
อัลโลพูรินอล, โพรพิลไทโอยูราซิล, เฮพาริน เป็นต้น |
ภาวะเครียดทางจิตใจเช่น ตกใจ เสียใจ เศร้าใจ เป็นต้นผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงมากผิดปกติซึ่งมักจะมีอาการตามหลังสาเหตุเหล่านี้ประมาณ
2-3 เดือน และอาจจะเป็นอยู่นาน 2-6
เดือน ก็จะหายได้เองอย่างสมบูรณ์ |
ผมร่วงตามธรรมชาติ
เส้นผมของคนเรามีประมาณ 80000-100000 เส้น จะมีผมร่วงทุกวันเป็นปกติ 10-100 เส้น เพราะเส้นผมจะอยู่ในระยะหยุดเจริญเติบโต
ประมาณ 10 %
|
|
 |